คอนกรีตทนไฟ
Castable
คอนกรีตทนไฟ (CASTABLE) เป็นวัสดุทนไฟชนิดหนึ่ง คล้ายกับคอนกรีตผสมเสร็จทั่วไป แต่ใช้น้ำในการผสมน้อยกว่า มีคุณสมบัติทนไฟหรือทนความร้อนที่อุณหภูมิสูงได้ดีเช่นเดียวกับอิฐทนไฟส่วนผสมประกอบด้วยชีเมนต์ทนไฟ และเม็ดวัสดุทนไฟหลายขนาดที่มี สัดส่วนพอเหมาะ ซึ่งเมื่อผสมน้ำตามอัตราส่วนที่กำหนดแล้วจะให้ ความแข็งแรง สามารถใช้หล่อเป็นโครงสร้างเตาได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วขจัดปัญหาเรื่องระยะเวลาในการผลิต ค่าแบบ (กรณีที่เป็นอิฐรูปร่างพิเศษ)และการตัดอิฐทนไฟให้เข้ารูป อีกทั้งยังเหมาะสมสำหรับการใช้งานบริเวณที่ไม่สามารถก่ออิฐได้เป็นอย่างดี
คอนกรีตทนไฟ NORMAL
สำหรับใช้กับงานหล่อทั่วไป
คอนกรีตทนไฟ CAST18
- น้ำหนัก 25 กก./ถุง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,800 °C
คอนกรีตทนไฟ CAST16SP
- น้ำหนัก 25 กก./ถุง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,600 °C
คอนกรีตทนไฟ CAST16
- น้ำหนัก 25 กก./ถุง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,600 °C
คอนกรีตทนไฟ CAST15
- น้ำหนัก 25 กก./ถุง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,500 °C
คอนกรีตทนไฟ CAST13
- น้ำหนัก 25 กก./ถุง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,300 °C
คอนกรีตทนไฟ ES SERIES
สำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักได้ดี
คอนกรีตทนไฟ CAST15ES
- น้ำหนัก 25 กก./ถุง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,500 °C
คอนกรีตทนไฟ CAST13ES
- น้ำหนัก 25 กก./ถุง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,300 °C
คอนกรีตทนไฟ LW SERIES
เป็นฉนวนป้องกันการสูญเสีย และความร้อน ประหยัดพลังงาน
คอนกรีตทนไฟ CAST18LW
- น้ำหนัก 25 กก./ถุง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,800 °C
คอนกรีตทนไฟ CAST15LW
- น้ำหนัก 25 กก./ถุง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,500 °C
คอนกรีตทนไฟ CAST13LW
- น้ำหนัก 25 กก./ถุง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,300 °C
คอนกรีตทนไฟ CAST11LW
- น้ำหนัก 25 กก./ถุง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,100 °C
คอนกรีตทนไฟ CAST10LW
- น้ำหนัก 10 กก./ถุง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,100 °C
คอนกรีตทนไฟ CG SERIES
สำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรง ทนต่อการขัดสี และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างฉับพลัน
คอนกรีตทนไฟ CAST17CG
- น้ำหนัก 25 กก./ถุง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,700 °C
คอนกรีตทนไฟ CAST15CG
- น้ำหนัก 25 กก./ถุง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,500 °C
คอนกรีตทนไฟ CAST13CG
- น้ำหนัก 25 กก./ถุง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,300 °C
ประเภท ของคนกรีตทนไฟ
คอนกรีตทนไฟ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ
1 คอนรีตทนไฟชนิดทั่วไป (Conventional Castables)
เป็นคอนกรีตทนไฟผสมเสร็จบรรจุถุงพร้อมใช้งานได้ทันที มีให้เลือก ตั้งแต่อุณหภูมิใช้งาน 1,000-1,800 C สามารถผสมน้ำได้ 10-15% ทำให้มีการไหลตัวที่ดีง่ายต่อการหล่อและเหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
ㆍ ชนิดสำหรับใช้กับงานหล่อทั่วไป (Normal Castable)
ㆍ ชนิดสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้ดี
(ES Series, Extra Strength)
ㆍ ชนิดที่เป็นฉนวนกันความร้อน (LW Series, Lightweight)
ㆍ ชนิดทนต่อการขัดสี (CG Series, Coarse Grain)
2 คอนกรีตทนไฟชนิดที่มีปริมาณซีเมนต์น้อย (Low Cement Castables : LCC)
เป็นคอนกรีตทนไฟที่มีจุดเด่นกว่าคอนกรีตทนไฟชนิดทั่วไป กล่าวคือ คงความแข็งแรงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงการเพิ่มอุณหภูมิขณะจุดเตา (Heating up) มีความแข็งแรงสูงทั้งในอุณหภูมิห้องและอุณหภูมิใช้งานทนต่อการขัดสี การแตกร่อนจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และทนต่อการกัดกร่อนของอัลคาไลน์ได้ดีกว่าคอนกรีตทนไฟชนิดทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากมีส่วนประกอบของ Lime(CaO) ระหว่าง 1.0% ถึง 2.5%
3 คอนกรีตทนไฟชนิดที่มีปริมาณซีเมนต์น้อยมาก (Ultra Low Cement Castables : ULCC)
เป็นคอนกรีตทนไฟที่มีจุดเด่นคือ มีความแข็งแรง ทนต่อการขัดสีสูง และสามารถทนต่อการกัดกร่อนจากปฏิกิริยาทางเคมี(Chemical Attacks) ได้ดีเนื่องจากมีส่วนประกอบของ Lime(C.O) น้อยมาก เพียง 0.2% ถึง 1.0%
วิธีการเลือกใช้คอนกรีตทนไฟให้ถูกต้อง
ในการเลือกคอนกรีตทนไฟไปใช้งานจะต้องเลือกชั้นคุณภาพของคอนกรีตทนไฟให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน โดยปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในเบื้องต้น ได้แก่
ㆍ อุณหภูมิการใช้งาน
ㆍ การรับน้ำหนักและแรงกระแทกจากการใช้งาน
ㆍ การเสียดสีจากของแข็งและก๊าซภายในเตาเผา
ㆍ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยฉับพลัน
ㆍ การกัดกร่อนทางเคมีจากน้ำโลหะ ตะกรัน(SIag) และเถ้าถ่าน รวมทั้งอัลคาไลน์
การผสมคอนกรีตทนไฟ
การผสมคอนกรีตทนไฟชนิดธรรมดา (Conventional Castables)
1 ทำความสะอาดบริเวณที่จะหล่อคอนกรีตทนไฟรวมทั้ง เครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น เครื่องผสม (Pan Mixer) หัวเขย่า (Vibrator) ถังและเกรียงก่อนการผสมให้สะอาด
ไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมตกค้างอยู่ เช่น คอนกรีตทนไฟ หรือ ปูนซีเมนต์ที่ติดค้างอยู่ในถังผสม
2 ผสมคอนกรีตทนไฟในปริมาณที่ พอเหมาะกับขนาดของเครื่องผสม
3 ผสมแห้งเป็นเวลาประมาณ 1 นาที เติมน้ำสะอาดตามเปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักของคอนกรีตทนไฟที่กำหนดไว้ โดยเริ่มจากอัตราส่วนที่ต่ำสุดก่อน 5 ผสมเป็นเวลา 3-5 นาที ไม่ควรผสมนานเกิน 5 นาทีเพราะจะทำให้เกิดความร้อนขึ้น ซึ่งจะเร่งการแข็งตัวของคอนรีตทนไฟให้เร็วขึ้นก่อนนำไปใช้งานควรทดสอบสภาพของคอนกรีตทนไฟ
ที่ผสมแล้ว โดยปั้นคอนรีตทนไฟเป็นก้อนกลม โยนขึ้นให้สูง 6-12 นิ้ว แล้วรับ สังเกตลักษณะของคอนกรีต
การผสมคอนรีตทนไฟชนิดที่มีปริมาณซีเมนต์น้อย (Low and Ultra Low Cement Castables)
1 ทำความสะอาดบริเวณที่จะหล่อคอนกรีตทนไฟ รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์
เช่น เครื่องผสม (Pan Mixer) หัวเขย่า (VIbrctor) ถังและเกรียงก่อนการผสม
ให้สะอาด ไม่ให้มีสิ่งปลอมปนตกค้างอยู่
2 ผสมคอนกรีตทนไฟในปริมาณที่พอเหมาะกับเครื่องผสม ในกรณีที่เป็นชนิดแยกตัวประสาน (Separated Binder) ให้ใส่ตัวประสานตามลงไปในสัดส่วน1 ถุงตัวประสาน ต่อ 1 ถุงคอนกรีตทนไฟ โดยพยายามโรยให้ทั่ว
3 ผสมแห้งเป็นเวลาประมาณ 1 นาที
4 เติมน้ำสะอาดตามเปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักของคอนกรีตทนไฟที่ กำหนดไว้โดยเริ่มจากอัตราส่วนที่ต่ำสุตท่อน เนื่องจากลัดส่วนของน้ำมีผลอย่างมากต่อ
คุณภาพของคอนกรีตทนไฟ จึงควรควบคุมสัดส่วนน้ำตามที่กำหนดไว้อย่างเข้มงวด
5 ผสมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3-5 นาที ไม่ควรผสมนานเกิน 5 นาที เพราะจะ ทำให้เกิดความร้อนขึ้น ซึ่งจะเร่งการแข็งตัวของคอนกรีตทนไฟให้เร็วขึ้น
6 ก่อนนำไปใช้งานควรทดสอบสภาพของคอนกรีตทนไฟที่ผสมแล้ว โดยหยิบคอนกรีตทนไฟหนึ่งกำมือและเขย่า สังเกตดูลักษณะเนื้อคอนกรีตควรจะจับตัว เป็นก้คนผิวมัน และไม่ร่วนหรืคเหลวมากหลังจากเขย่าไปมาคย่างรวดเร็ว
7 นำคอนกรีตที่ผสมนี้ไปใช้งานทันที และควรใช้งานให้หมดภายใน 30 นาทีหลังผสมเสร็จ
การหล่อ คอนกรีตทนไฟ
1 การหล่อคอนกรีตทนไฟมีข้อปฏิบัติดังนี้แบบที่ใช้ในการหล่ออาจเป็นแบบไม้หรือแบบเหล็กก็ได้ และจะต้องไม่มีรอยรั่วซึม ก่อนหล่อควรทาด้านในแบบหล่อด้วยน้ำมันทาแบบ เช่น จาระบีหรือพาราฟิน เพื่อให้ถอดแบบได้ง่ายขึ้น
2 การใช้หัวเขย่า (VIbrator) ควรเขย่าไล่จากล่างขึ้นบน และควรถอนหัวเขย่าจากคอนรีตทนไฟอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรูหรือโพรงอากาศเหลืออยู่ หากถอนหัวเขย่าแล้วเกิดรู แสดงว่าส่วนผสมของคอนกรีตทนไฟนั้นใส่ปริมาณน้ำน้อยเกินไป
3 ในการเขย่าคอนกรีตทนไฟต้องใช้เวลาที่ พอดีสังเกตได้จากน้ำที่เริ่มเยิ้มขึ้นมาบนผิวหน้าของคอนกรีตทนไฟ ทั้งนี้ไม่ควรใช้เวลาในการเขย่า นานเกินไป เพราะจะทำให้เนื้อคอนกรีตแยกชั้นและส่งผลให้คอนกรีตไม่แข็งแรง นอกจากนี้ยังอาจ เกิดการระเบิดระหว่างการอุ่นได้ง่าย เนื่องจากมีเม็ดละเอียดของเนื้อคอนกรีตลอยขึ้นมาปิดผิวหน้าขึ้นงานหลังหล่อเสร็จไม่ควรตกแต่งผิวหน้าให้เรียบ เพื่อให้การระเหยน้ำออกเป็นไปอย่างสะดวก
รีวิว การจัดส่ง คอนกรีตทนไฟ
รีวิว จัดส่ง อิฐทนไฟ เหลี่ยม MOT50 หน้างาน บางบอน กรุงเทพมหานคร
ขอบคุณลูกค้า ที่เลือกใช้สินค้า และบริการจากเรา เรายินดีให้บริการด้วยใจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานของคุณ สินค้า :อิฐทนไฟ เหลี่ยม MOT50 หน้างาน : บางบอน
รีวิว จัดส่ง ปูนทนไฟ 30AM(W) , อิฐทนไฟ MOT50 เสี้ยว หน้างาน คลองหลวง ปทุมธานี
ขอบคุณลูกค้า ที่เลือกใช้สินค้า และบริการจากเรา เรายินดีให้บริการด้วยใจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานของคุณ สินค้า : ปูนทนไฟ 30AM(W) , อิฐทนไฟ MOT50 เสี้ย
รีวิว จัดส่ง คอนกรีตทนไฟ CAST13 หน้างาน บางใหญ่ นนทบุรี
ขอบคุณลูกค้า ที่เลือกใช้สินค้า และบริการจากเรา เรายินดีให้บริการด้วยใจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานของคุณ สินค้า :คอนกรีตทนไฟ CAST13 หน้างาน : บางใหญ่ น
รีวิว จัดส่ง อิฐทนไฟ SK30-ST76 , อิฐทนไฟ SK30-ST64 , คอนกรีตทนไฟ CAST13 , ปูนทนไฟ 30AM(W) หน้างาน บ้านนาเดิม สุราษฎร์ธานี
ขอบคุณลูกค้า ที่เลือกใช้สินค้า และบริการจากเรา เรายินดีให้บริการด้วยใจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานของคุณ สินค้า :อิฐทนไฟ SK30-ST76 , อิฐทนไฟ SK30-ST64