ปูนทนไฟ
MORTAR
เป็นวัสดุทนไฟชนิดพิเศษ เนื้อละเอียด ใช้ในการก่ออิฐทนไฟ
ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างอิฐ และป้องกันการแทรกซึมของก๊าซ หรือ
ของเหลวซึมออกจากรอยต่อระหว่างอิฐ โดยจะใช้ก่อหนาเพียง 1 – 2 มม.
เท่านั้น ปูนทนไฟโดยทั่วไปแบ่งตามลักษณะผลิตภัณฑ์เป็น 2 ประเภท คือ
1 ปูนทนไฟที่ต้องให้ความร้อนจึงจะแข็งตัว (ปกติประมาณ
1000 °C ขึ้นไป) เรียกว่า HEAT SETING MORTAR (HM)
2 ปูนทนไฟที่เมื่อทิ้งไว้จะแข็งตัวเองที่อุณหภูมิห้อง เรียกว่า
AIR SETTING MORTAR (AM)
ปูนทนไฟ AM
Air Mortar Setting ปูนทนไฟที่เมื่อทิ้งไว้จะแข็งตัวเองที่อุณภูมิห้อง
ปูนทนไฟ 70AM(W)
- น้ำหนัก 35 กก./ถัง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,650 °C
- ความหนาของปูนทนไฟ ไม่ควรเกิน 2 มม.
ปูนทนไฟ 80PM
- น้ำหนัก 35 กก./ถัง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,650 °C
- ความหนาของปูนทนไฟ ไม่ควรเกิน 2 มม.
ปูนทนไฟ 43AM(W)
- น้ำหนัก 35 กก./ถัง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,600 °C
- ความหนาของปูนทนไฟ ไม่ควรเกิน 2 มม.
ปูนทนไฟ 30AM(W)
- น้ำหนัก 35 กก./ถัง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,400 – 1,500 °C
- ความหนาของปูนทนไฟ ไม่ควรเกิน 2 มม.
ปูนทนไฟ HM
HEAT SETTING MORTAR คือ ปูนทนไฟที่ต้องให้ความร้อนจึงแข็งตัว (ปกติประมาณ 1,000 °C ขึ้นไป)
ปูนทนไฟ 70HM
- น้ำหนัก 25 กก./ถุง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,650 °C
- ความหนาของปูนทนไฟ ไม่ควรเกิน 2 มม.
- ปูนทนไฟที่ต้องให้ความร้อน 1,000 °C จึงแข็งตัว
ปูนทนไฟ 43HM
- น้ำหนัก 25 กก./ถุง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,600 °C
- ความหนาของปูนทนไฟ ไม่ควรเกิน 2 มม.
- ปูนทนไฟที่ต้องให้ความร้อน 1,000 °C จึงแข็งตัว
ปูนทนไฟ 30HM
- น้ำหนัก 25 กก./ถุง
- ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,400 °C
- ความหนาของปูนทนไฟ ไม่ควรเกิน 2 มม.
- ปูนทนไฟที่ต้องให้ความร้อน 1,000 °C จึงแข็งตัว
คุณสมบัติ ปูนทนไฟ
- ใช้ก่ออิฐทนไฟให้ยึดติดกันระหว่างก้อนได้ดี รวมทั้งป้องกันรอยต่อเชื่อมของอิฐไม่ให้เกิดการกัดกร่อนของ Slag หรือ Flux ทั่วไป
- สามารถใช้ได้ทั้งในสภาวะที่เป็นกรดหรือด่าง และใช้เป็นปูนทนไฟสำหรับอิฐฉนวน
- มีแรงเกาะยึดที่ดีและมีการหดตัวต่ำ ทนความร้อนได้สูง
- มีทั้งชนิดที่ใช้ได้ทันที (Wet Type) และชนิดที่ผสมน้ำก่อนใช้งาน (Dry Type)
คู่มือการใช้งาน ปูนทนไฟ
1 ในการเตรียมปูนทนไฟทิ้งไว้เป็นเวลานาน 1 ควรกวนให้เป็นเนื้อเดียวกันอีกครั้งก่อนนำมาใช้งาน
2 ฉาบปูนทนไฟลงบนผิวอิฐทนไฟที่จะนำมาก่อทั่วทั้งหน้าอิฐให้มีความหนาไม่เกิน 2 มม.
3 ใช้ค้อนพลาสติกปรับแต่งระดับด้วยการตีอิฐทนไฟให้อยู่ในระดับเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้ปูนทนไฟเยิ้มออกมาตามแนวก่อเล็กน้อย
การเตรียม ปูนทนไฟ ชนิดแห้ง
1 ตวงน้ำสะอาดที่ใช้ผสมปูนทนไฟตามเปอร์เซนต์น้ำที่กำหนดไว้ที่ถุง
2. โรยผงปูนทนไฟลงในถังผสมทีละน้อยจนหมด ซึ่งในขณะที่โรยปูนทนไฟให้เปิด
สว่านไฟฟ้าติดใบพัดกวนอยู่ตลอดเวลา
3. กวนต่ออีกจนกว่าปูนทนไฟจะเป็นเนื้อเดียวกัน และเหนียวพอเหมาะกับการใช้งาน ถ้าเป็นชนิดที่ให้ความแข็งแรงที่อุณหภูมิห้อง ควรผสมหมักทิ้งไว้ 24 ชม. และต้องกวนอีกครั้งก่อนนำไปใช้งาน
การเตรียม ปูนทนไฟ ชนิดเปียก
1 เปิดปากถังใช้สว่านไฟฟ้าติดใบพัดกวนปูนทนไฟให้ทั่ว โดยใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
2 หากเนื้อปูนทนไฟขันเกินไป ให้เติมน้ำสะอาดปรับความหนีดของปูนทนไฟให้เหมาะสมกับการใช้งาน และต้องกวนปูนทนไฟนั้นให้เป็นเนื้อเดียวกันก่อนนำไปใช้งาน
การใช้งาน ปูนทนไฟ
1 ในการเตรียมปูนทนไฟทิ้งไว้เป็นเวลานาน 1 ควรกวนให้เป็นเนื้อเดียวกันอีกครั้งก่อนนำมาใช้งาน
2 ฉาบปูนทนไฟลงบนผิวอิฐทนไฟที่จะนำมาก่อทั่วทั้งหน้าอิฐให้มีความหนาไม่เกิน 2 มม.
3 ใช้ค้อนพลาสติกปรับแต่งระดับด้วยการตีอิฐทนไฟให้อยู่ในระดับเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้ปูนทนไฟเยิ้มออกมาตามแนวก่อเล็กน้อย
หลักการเลือกใช้ ปูนทนไฟ
1 ควรเลือกใช้ปูนทนไฟให้เหมาะสมกับคุณภาพของอิฐทนไฟ โดยสามารถดูได้จากตารางแสดงคุณสมบัติ ทั้งนี้ต้องขึ้นกับอุณหภูมิการใช้งานเป็นหลัก
2 พิจารณาว่ตำแหน่งที่นำปูนทนไฟไปใช้งานต้องรับน้ำหนัก หรือเคลื่อนไหวหรือไม่ เช่น หม้อเผาปูนซีเมนต์ รถเตา เป็นต้น กรณีที่รับน้ำหนักหรือเคลื่อนไหว ควรใช้ปูนทนไฟชนิดให้ความแข็งแรงที่อุณหภูมิห้อง
3 พิจารณาว่าอุณหภูมิใช้งานสูงถึง 1,000 °C หรือไม่ หากไม่ถึง ควรใช้ปูนทนไฟชนิดให้ความแข็งแรงที่อุณหภูมิห้อง
4 พิจารณาความสะดวกในการทำงาน ซึ่งปูนทนไฟชนิดเปียก (Wet Type) จะให้ความสะดวกและประหยัดเวลาในการเตรียมมากกว่า
5 ต้องสามารถทนต่อปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเตาเผานั้นได้
การเก็บรักษา ปูนทนไฟ
1 ควรเก็บไว้ในที่ร่ม แห้ง ไม่ขึ้ และอย่าเปียกน้ำ
2 จัดเก็บแยกประเภทและคุณภาพเพื่อง่ายต่อการนำไปใช้งาน
3 ไม่ควรเก็บโดยซ้อนทับมากเกินกว่า 2 กระบะ เพราะจะทำให้ปูนทนไฟอัดตัวแข็งเป็นก้อน
4 ควรใช้ปูนทนไฟให้หมดถุงหรือถัง หากเหลือควรรัดปากถุงหรือปิดฝาถังให้สนิททุกครั้ง เพื่อไม่ให้ปูนทนไฟแข็งตัวและสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง
การอุ่นเตา
หลังจากที่ได้ก่อเตาเรียบร้อยแล้ว ควรอุ่นเตาตาม อัตราการเพิ่มอุณหภูมิดังกราฟ เพื่อไม่ให้เกิดการแตกร้าวบริเวณแนวของปูนทนไฟ เนื่องจากการหดตัวอย่างรวดเร็ว
- ช่วงที่ 1 ปรับอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 30-50 °C/ชั่วโมง
- ช่วงที่ 2 รักษาอุณหภูมิที่ 560 °C เป็นเวลา 5 ชั่วโมง
- ช่วงที่ 3 ปรับอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 30-50 °C/ชั่วโมง จนถึงอุณหภูมิใช้งาน
รีวิว การจัดส่ง ปูนทนไฟ
รีวิว จัดส่ง ปูนทนไฟ 30AM(W) , คอนกรีตทนไฟ CAST13S , อิฐทนไฟ เหลี่ยม MOT30 หน้างาน บึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร
ขอบคุณลูกค้า ที่เลือกใช้สินค้า และบริการจากเรา เรายินดีให้บริการด้วยใจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานของคุณ สินค้า :ปูนทนไฟ 30AM(W) , คอนกรีตทนไฟ CAST13S
รีวิว จัดส่ง อิฐทนไฟ SK30-ST76 , อิฐทนไฟ SK30-ST64 , คอนกรีตทนไฟ CAST13 , ปูนทนไฟ 30AM(W) หน้างาน บ้านนาเดิม สุราษฎร์ธานี
ขอบคุณลูกค้า ที่เลือกใช้สินค้า และบริการจากเรา เรายินดีให้บริการด้วยใจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานของคุณ สินค้า :อิฐทนไฟ SK30-ST76 , อิฐทนไฟ SK30-ST64
รีวิว จัดส่ง ปูนทนไฟ 30AM(W) , คอนกรีตทนไฟ CAST13S , ดินทนไฟ MOT หน้างาน อรัญประเทศ สระแก้ว
ขอบคุณลูกค้า ที่เลือกใช้สินค้า และบริการจากเรา เรายินดีให้บริการด้วยใจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานของคุณ สินค้า :ปูนทนไฟ 30AM(W) , คอนกรีตทนไฟ CAST13S
รีวิว จัดส่ง อิฐทนไฟ SK32-ST64 หน้างาน ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
ขอบคุณลูกค้า ที่เลือกใช้สินค้า และบริการจากเรา เรายินดีให้บริการด้วยใจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานของคุณ สินค้า :อิฐทนไฟ SK32-ST64หน้างาน : ลาดกระบัง ก