คอนกรีตทนไฟ CAST15ES

  • น้ำหนัก 25  กก./ถุง
  • ทนความร้อน อุณหภูมิ 1,500 °C

 

รายละเอียด คอนกรีตทนไฟ 

  • คอนกรีตทนไฟ  (CASTABLE REFRACTORIES)  เป็นวัสดุทนไฟชนิดหนึ่ง คล้ายคอนกรีตผสมเสร็จทั่วไปแต่ใช้น้ำ ในการผสมน้อยกว่า มีคุณสมบัติ ทนไฟ หรือทนความร้อนที่ อุณหภูมิสูงได้ดีเช่นเดียวกับอิฐทนไฟ ส่วนผสมประกอบด้วย ซีเมนต์ทนไฟ และเม็ดวัสดุทนไฟหลายขนาดที่มี สัดส่วน พอเหมาะ ซึ่งเมื่อผสมน้ำตามอัตราส่วน ที่กำหนดแล้วจะให้ ความแข็งแรง สามารถใช้หล่อ เป็นโครงสร้างเตาได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ขจัดปัญหา เรื่องระยะเวลา ในการผลิต  ค่าแบบ (กรณีที่เป็นอิฐรูปร่างพิเศษ) และการตัด อิฐทนไฟ ให้เข้ารูป  อีกทั้งยังเหมาะสมสำหรับ การใช้งาน บริเวณที่ไม่สามารถ ก่ออิฐได้เป็นอย่างดี

ประเภทของ คอนกรีตทนไฟ

  • 1. คอนกรีตทนไฟ ชนิดทั่วไป (Conventional Castables)
    เป็นคอนกรีตทนไฟ ผสมเสร็จ บรรจุถุง พร้อมใช้งาน ได้ทันที  มีให้เลือก ตั้งแต่อุณหภูมิ ใช้งาน 1,000-1,8000C สามารถผสมน้ำได้ 10%-15% ทำให้มี การไหลตัว ที่ดีง่าย ต่อการหล่อ และเหมาะสำหรับ การใช้งานทั่วไป แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
    คอนกรีตทนไฟ ตราช้าง แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ
    – คอนกรีตทนไฟชนิดสำหรับใช้กับ งานหล่อทั่วไป (Normal Castable)
    – คอนกรีตทนไฟชนิดสำหรับงาน ที่ต้องการความแข็งแร งสามารถรับน้ำหนักได้ดี (ES Series, Extra Strength)- คอนกรีตทนไฟชนิดที่เป็น ฉนวนกันความร้อน (LW Series, Lightweight)
    – คอนกรีตทนไฟชนิด ทนต่อการขัดสี (CG Series, Coarse Grain)
  • 2.คอนกรีตทนไฟ ชนิดที่มีปริมาณซีเมนต์น้อย (Low Cement Castables: LCC) เป็นคอนกรีตทนไฟที่มีจุดเด่นกว่าคอนกรีตทนไฟชนิดทั่วไป กล่าวคือคงความแข็งแรงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงการเพิ่มอุณหภูมิขณะจุดเตา (Heating up) มีความแข็งแรงสูงทั้งในอุณหภูมิห้อง และอุณหภูมิใช้งาน ทนต่อการขัดสี การแตกร่อน จากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และทนต่อการกัดกร่อนของอัลคาไลน์ได้ดีกว่าคอนกรีตทนไฟชนิดทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากมีส่วนประกอบของ Lime (CaO) ระหว่าง 1.0 % ถึง 2.5%
  • 3.คอนกรีตทนไฟ ชนิดที่มีปริมาณซีเมนต์น้อยมาก เป็นคอนกรีตทนไฟที่มีจุดเด่นคือ  มีความแข็งแรงทนต่อการขัดสีสูงและสามารถทนต่อการกัดกร่อนจากปฎิกิริยาทางเคมี (Chemical Attacks) ได้ดีเนื่องจากมีส่วนประกอบของ Lime (CaO) น้อยมากเพียง 0.2% ถึง 1.0%

วิธีเลือกใช้งาน คอนกรีตทนไฟ CAST15ES

  • อุณหภูมิการใช้งาน
  • การรับน้ำหนักและแรงกระแทกจากการใช้งาน
  • การเสียดสีจากของแข็งและก๊าซภายในเตา
  • การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยฉับพลัน
  • การกัดกร่อนทางเคมีจากน้ำโลหะ ตะกรัน (slag) และเถ้าถ่าน รวมทั้งอัคคาไลน์

วิธีใช้งาน คอนกรีตทนไฟ CAST15ES

  • ใช้เทหล่อเมื่อติดตั้งโครงสร้างต่างๆ แทนอิฐ Fireclay หรือ High Alumina เช่นผนังหลังคาของเตาหลอมแก้ว เตาหลอมเหล็ก เตาอบเหล็ก เบ้ารับน้ำเหล็ก แท่งกวนน้ำเหล็ก เตาหลอมอลูมิเนียม และเบ้าหลอมพลอย เป็นต้น
  • ใช้หล่อแทนอิฐ High Alumina บริเวณหลังคาเตา EAF, หัวฉีด, Nose Ring, Kiln load และ Burner Block
  • ใช้เป็น Back up lining ของอิฐไฟร์เคลย์ และอิฐอลูมินาสูง ในหม้อไอน้ำ, เตาเผาเซรามิก, เตาเหล็กรีดซ้ำ, เตาหลอมแก้ว เตาเผาขยะประสิทธิภาพสูง และเตา Periodic เป็นต้น
  • ใช้เป็น Back up lining ของ Cyclone, Preheaters และ Cooler ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และใช้เป็นพื้นของรถเตาเซรามิก เป็นต้น

ข้อควรระวังในการผสม CAST15

  • ควรตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ ว่าสามารถใช้งาน ได้ตามปกติ ไม่ปนเปื้อนสกปรก
  • คอนกรีตทนไฟจะแข็งตัวเร็ว ถ้าคอนกรีตทนไฟหรืออุปกรณ์ที่ใช้ปนเปื้อน ฝุ่นปูนหรือเศษคอนกรีตทนไฟเดิม
    หากบริเวณ ที่ทำงานมีอุณหภูมิสูง เกินไป (ปกติควรอยู่ระหว่าง 25-300c) หรือผงคอนกรีตทนไฟ อุปกรณ์ที่ใช้ และน้ำ มีความร้อน มากเกินไปคอนกรีตทนไฟ จะแข็งตัวเร็ว ดังนั้น จึงไม่ควรวางคอนกรีตทนไฟ อุปกรณ์ที่ใช้ และน้ำ ไว้กลางแดด เป็นเวลานาน ก่อนการใช้งาน
  • น้ำที่นำมาใช้ควรเป็นน้ำที่สะอาด และไม่มีค่าเป็นกรดหรือด่าง เช่น น้ำประปา เป็นต้น
  • หากผสมน้ำ มากเกินกว่าที่กำหนด จะทำให้คอนกรีตทนไฟ มีคุณสมบัติด้อยลงมาก เช่น  คอนกรีตทนไฟจะแข็งตัวช้า มีความแข็งแรงต่ำ มีรูพรุนหลังการเผามากและมีโอกาสที่จะระเบิดเมื่ออุ่นเตาเร็ว
  • กรณีที่ผสมน้ำน้อยเกินไปคอนกรีตทนไฟจะแข็งตัวเร็ว และเนื้อคอนกรีตทนไฟเรียบตัวไม่แน่น
  • ความหนาของปูนทนไฟ ไม่ควรเกิน 2 มม.
  • ปูนทนไฟที่ต้องให้ความร้อน 1,000 °C จึงแข็งตัว