คอนกรีตทนไฟ Conventional Castable

คอนกรีตทนไฟ SRIC

Castable

        คอนกรีตทนไฟ (CASTABLE) เป็นวัสดุทนไฟชนิดหนึ่ง คล้ายกับคอนกรีตผสมเสร็จทั่วไป แต่ใช้น้ำในการผสมน้อยกว่า มีคุณสมบัติทนไฟหรือทนความร้อนที่อุณหภูมิสูงได้ดีเช่นเดียวกับอิฐทนไฟส่วนผสมประกอบด้วยชีเมนต์ทนไฟ และเม็ดวัสดุทนไฟหลายขนาดที่มี สัดส่วนพอเหมาะ ซึ่งเมื่อผสมน้ำตามอัตราส่วนที่กำหนดแล้วจะให้ ความแข็งแรง สามารถใช้หล่อเป็นโครงสร้างเตาได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วขจัดปัญหาเรื่องระยะเวลาในการผลิต ค่าแบบ (กรณีที่เป็นอิฐรูปร่างพิเศษ)และการตัดอิฐทนไฟให้เข้ารูป อีกทั้งยังเหมาะสมสำหรับการใช้งานบริเวณที่ไม่สามารถก่ออิฐได้เป็นอย่างดี

คอนกรีตทนไฟ NORMAL

สำหรับใช้กับงานหล่อทั่วไป

คอนกรีตทนไฟ ES SERIES

สำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักได้ดี

คอนกรีตทนไฟ LW SERIES

เป็นฉนวนป้องกันการสูญเสีย และความร้อน ประหยัดพลังงาน

คอนกรีตทนไฟ CG SERIES

สำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรง ทนต่อการขัดสี และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างฉับพลัน

ประเภท ของคนกรีตทนไฟ SRIC

คอนกรีตทนไฟ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ

1 คอนรีตทนไฟชนิดทั่วไป (Conventional Castables)
        เป็นคอนกรีตทนไฟผสมเสร็จบรรจุถุงพร้อมใช้งานได้ทันที มีให้เลือก ตั้งแต่อุณหภูมิใช้งาน 1,000-1,800 C สามารถผสมน้ำได้ 10-15% ทำให้มีการไหลตัวที่ดีง่ายต่อการหล่อและเหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
            ㆍ ชนิดสำหรับใช้กับงานหล่อทั่วไป (Normal Castable)
            ㆍ ชนิดสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้ดี
(ES Series, Extra Strength)
            ㆍ ชนิดที่เป็นฉนวนกันความร้อน (LW Series, Lightweight)
            ㆍ ชนิดทนต่อการขัดสี (CG Series, Coarse Grain)

2 คอนกรีตทนไฟชนิดที่มีปริมาณซีเมนต์น้อย (Low Cement Castables : LCC)
        เป็นคอนกรีตทนไฟที่มีจุดเด่นกว่าคอนกรีตทนไฟชนิดทั่วไป กล่าวคือ คงความแข็งแรงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงการเพิ่มอุณหภูมิขณะจุดเตา (Heating up) มีความแข็งแรงสูงทั้งในอุณหภูมิห้องและอุณหภูมิใช้งานทนต่อการขัดสี การแตกร่อนจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และทนต่อการกัดกร่อนของอัลคาไลน์ได้ดีกว่าคอนกรีตทนไฟชนิดทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากมีส่วนประกอบของ Lime(CaO) ระหว่าง 1.0% ถึง 2.5%

3 คอนกรีตทนไฟชนิดที่มีปริมาณซีเมนต์น้อยมาก (Ultra Low Cement Castables : ULCC)
        เป็นคอนกรีตทนไฟที่มีจุดเด่นคือ มีความแข็งแรง ทนต่อการขัดสีสูง และสามารถทนต่อการกัดกร่อนจากปฏิกิริยาทางเคมี(Chemical Attacks) ได้ดีเนื่องจากมีส่วนประกอบของ Lime(C.O) น้อยมาก เพียง 0.2% ถึง 1.0%

วิธีการเลือกใช้คอนกรีตทนไฟให้ถูกต้อง

        ในการเลือกคอนกรีตทนไฟไปใช้งานจะต้องเลือกชั้นคุณภาพของคอนกรีตทนไฟให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน โดยปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในเบื้องต้น ได้แก่
            ㆍ อุณหภูมิการใช้งาน
            ㆍ การรับน้ำหนักและแรงกระแทกจากการใช้งาน
            ㆍ การเสียดสีจากของแข็งและก๊าซภายในเตาเผา
            ㆍ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยฉับพลัน
            ㆍ การกัดกร่อนทางเคมีจากน้ำโลหะ ตะกรัน(SIag) และเถ้าถ่าน รวมทั้งอัลคาไลน์

การใช้งานคอนกรีตทนไฟ SRIC

คอนกรีตทนไฟ SRIC สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น

  • งานก่อสร้าง : ใช้สำหรับก่อสร้างเตาเผา เตาหลอม โรงงานปูนซีเมนต์ และโครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับอุณหภูมิสูง
  • งานซ่อมแซม : ใช้สำหรับซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอหรือชำรุดของเตาเผาและอุปกรณ์ที่ทนไฟ
  • งานปูพื้น : ใช้ปูพื้นในบริเวณที่ต้องสัมผัสกับความร้อนสูง เช่น บริเวณรอบเตาเผา
  • งานป้องกันความร้อน : ใช้สำหรับป้องกันความร้อนให้กับโครงสร้างต่างๆ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการหล่อคอนกรีตทนไฟ

1. เครื่องผสม แบบ Pan Mixer
เครื่องผสม แบบ Pan Mixer

มีความเร็วรอบ 35-40 รอบ/นาที เพื่อให้ผสมมวลกระจายตัวในน้ำและคอนกรีตทนไฟให้ทั่วถึงอย่างสม่ำเสมอและรวดเร็ว

2. หัวเขย่า (Vibrator)
หัวเขย่า (Vibrator)

ขนาดให้แทรกซึมอยู่กลางในผูกชำรุดหรือเททับ 1 นิ้ว โดยมีความเร็วรอบ 10,000 – 15,000 รอบ/นาที เพื่อไม่ให้มวลกระจายอย่างล้นหลาม และให้คอนกรีตทนไฟที่มีคุณภาพสูง

3. กระบอกตวงน้ำ
กระบอกตวงน้ำ

ขนาด 1-2 ลิตร

4. นาฬิกาจับเวลา
นาฬิกาจับเวลา

สำหรับจับเวลาการผสม

การผสมคอนกรีตทนไฟ SRIC

การผสมคอนกรีตทนไฟชนิดธรรมดา (Conventional Castables)
        1  ทำความสะอาดบริเวณที่จะหล่อคอนกรีตทนไฟรวมทั้ง เครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น เครื่องผสม (Pan Mixer) หัวเขย่า (Vibrator) ถังและเกรียงก่อนการผสมให้สะอาด
ไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมตกค้างอยู่ เช่น คอนกรีตทนไฟ หรือ ปูนซีเมนต์ที่ติดค้างอยู่ในถังผสม
        2  ผสมคอนกรีตทนไฟในปริมาณที่ พอเหมาะกับขนาดของเครื่องผสม
        3  ผสมแห้งเป็นเวลาประมาณ 1 นาที  เติมน้ำสะอาดตามเปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักของคอนกรีตทนไฟที่กำหนดไว้ โดยเริ่มจากอัตราส่วนที่ต่ำสุดก่อน 5 ผสมเป็นเวลา 3-5 นาที ไม่ควรผสมนานเกิน 5 นาทีเพราะจะทำให้เกิดความร้อนขึ้น ซึ่งจะเร่งการแข็งตัวของคอนรีตทนไฟให้เร็วขึ้นก่อนนำไปใช้งานควรทดสอบสภาพของคอนกรีตทนไฟ
ที่ผสมแล้ว โดยปั้นคอนรีตทนไฟเป็นก้อนกลม โยนขึ้นให้สูง 6-12 นิ้ว แล้วรับ สังเกตลักษณะของคอนกรีต

การผสมคอนรีตทนไฟชนิดที่มีปริมาณซีเมนต์น้อย (Low and Ultra Low Cement Castables)
        1  ทำความสะอาดบริเวณที่จะหล่อคอนกรีตทนไฟ รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์
เช่น เครื่องผสม (Pan Mixer) หัวเขย่า (VIbrctor) ถังและเกรียงก่อนการผสม
ให้สะอาด ไม่ให้มีสิ่งปลอมปนตกค้างอยู่
        2  ผสมคอนกรีตทนไฟในปริมาณที่พอเหมาะกับเครื่องผสม ในกรณีที่เป็นชนิดแยกตัวประสาน (Separated Binder) ให้ใส่ตัวประสานตามลงไปในสัดส่วน1 ถุงตัวประสาน ต่อ 1 ถุงคอนกรีตทนไฟ โดยพยายามโรยให้ทั่ว
        3  ผสมแห้งเป็นเวลาประมาณ 1 นาที
        4  เติมน้ำสะอาดตามเปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักของคอนกรีตทนไฟที่ กำหนดไว้โดยเริ่มจากอัตราส่วนที่ต่ำสุตท่อน เนื่องจากลัดส่วนของน้ำมีผลอย่างมากต่อ
คุณภาพของคอนกรีตทนไฟ จึงควรควบคุมสัดส่วนน้ำตามที่กำหนดไว้อย่างเข้มงวด
        5  ผสมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3-5 นาที ไม่ควรผสมนานเกิน 5 นาที เพราะจะ ทำให้เกิดความร้อนขึ้น ซึ่งจะเร่งการแข็งตัวของคอนกรีตทนไฟให้เร็วขึ้น
        6  ก่อนนำไปใช้งานควรทดสอบสภาพของคอนกรีตทนไฟที่ผสมแล้ว โดยหยิบคอนกรีตทนไฟหนึ่งกำมือและเขย่า สังเกตดูลักษณะเนื้อคอนกรีตควรจะจับตัว เป็นก้คนผิวมัน และไม่ร่วนหรืคเหลวมากหลังจากเขย่าไปมาคย่างรวดเร็ว
        7  นำคอนกรีตที่ผสมนี้ไปใช้งานทันที และควรใช้งานให้หมดภายใน 30 นาทีหลังผสมเสร็จ

การหล่อ คอนกรีตทนไฟ SRIC

        1 การหล่อคอนกรีตทนไฟมีข้อปฏิบัติดังนี้แบบที่ใช้ในการหล่ออาจเป็นแบบไม้หรือแบบเหล็กก็ได้ และจะต้องไม่มีรอยรั่วซึม ก่อนหล่อควรทาด้านในแบบหล่อด้วยน้ำมันทาแบบ เช่น จาระบีหรือพาราฟิน เพื่อให้ถอดแบบได้ง่ายขึ้น
        2 การใช้หัวเขย่า (VIbrator) ควรเขย่าไล่จากล่างขึ้นบน และควรถอนหัวเขย่าจากคอนรีตทนไฟอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรูหรือโพรงอากาศเหลืออยู่ หากถอนหัวเขย่าแล้วเกิดรู แสดงว่าส่วนผสมของคอนกรีตทนไฟนั้นใส่ปริมาณน้ำน้อยเกินไป
        3 ในการเขย่าคอนกรีตทนไฟต้องใช้เวลาที่ พอดีสังเกตได้จากน้ำที่เริ่มเยิ้มขึ้นมาบนผิวหน้าของคอนกรีตทนไฟ ทั้งนี้ไม่ควรใช้เวลาในการเขย่า นานเกินไป เพราะจะทำให้เนื้อคอนกรีตแยกชั้นและส่งผลให้คอนกรีตไม่แข็งแรง นอกจากนี้ยังอาจ เกิดการระเบิดระหว่างการอุ่นได้ง่าย เนื่องจากมีเม็ดละเอียดของเนื้อคอนกรีตลอยขึ้นมาปิดผิวหน้าขึ้นงานหลังหล่อเสร็จไม่ควรตกแต่งผิวหน้าให้เรียบ เพื่อให้การระเหยน้ำออกเป็นไปอย่างสะดวก

ตารางนี้คอนกรีทนไฟ ชนิดทั่วไป

ประเภทคุณสมบัติเด่นชื่อสินค้า
NORMALเหมาะสำหรับงานหล่อทั่วไปCAST 13, CAST 15, CAST 16, CAST 16 SP, CAST 18, CAST 18 SP
ES SERIESความแข็งแรงสูง, รับน้ำหนักได้ดีCAST 13 ES, CAST 15 ES
LW SERIESฉนวนกันความร้อน, ประหยัดพลังงานCAST 10 LW, CAST 11 LW, CAST 13 LW, CAST 15 LW
CG SERIESความแข็งแรงสูง, ทนต่อการขัดสี, เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างฉับพลันCAST 13 CG, CAST 14 CG, CAST 17 CG

ตารางนี้คอนกรีทนไฟ ชนิดปริมาณซีเมนต์น้อย (LCC)

ประเภทคุณสมบัติเด่นชื่อสินค้า 
NEOCAS SERIESความทนทานสูง, เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความทนทานเป็นพิเศษNEOCAS 1350, NEOCAS 1450, NEOCAS 1550, NEOCAS 1650, NEOCAS 1800
C-SERIESความทนทานสูง, ทนต่อการขัดสีและการกัดกร่อนC 58, C 40 A, C 60 A, C 70 A
EAZYFLOW SERIESไหลตัวได้ดี, เหมาะสำหรับบริเวณที่หล่อยากและซับซ้อนEAZYFLOW 40, EAZYFLOW 60, EAZYFLOW 80, EAZYFLOW 85
ULCCทนต่ออุณหภูมิสูงกว่า 1,700°C, ความแข็งแรงสูง, ทนต่อการขัดสีและการกัดกร่อนจากปฏิกิริยาทางเคมี, เหมาะสำหรับบริเวณที่หล่อยากและซับซ้อนC 82, C 95, ALCOM 90

สอบถามราคา คอนกรีตทนไฟ SRIC รวมค่าขนส่ง ได้ที่ Line OA : @REFRACTORYTRADING

รีวิว การจัดส่ง คอนกรีตทนไฟ SRIC